บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
วันพุธ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561
เวลา
08.30 - 11.30 น.
Knowledge (ความรู้)
การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย
ความหมายของการบริหารการศึกษา (Education
Administration)
การบริหารการศึกษา แยกออกเป็น 2
คำ คือ การบริหาร และ การศึกษา
ความหมายของ “การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย
ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน คือ
* การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
* การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
* การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
** จากความหมายของ “การบริหาร” พอสรุปได้ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้”
* การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
* การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
* การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
** จากความหมายของ “การบริหาร” พอสรุปได้ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้”
ส่วนความหมายของ “การศึกษา” มีผู้ให้ความหมายไว้คล้ายๆกัน ดังนี้
* การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
* การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
* การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
** จากความหมายของ “การศึกษา” ข้างบนนี้พอสรุปได้ว่า “การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
* การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
* การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
* การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
** จากความหมายของ “การศึกษา” ข้างบนนี้พอสรุปได้ว่า “การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้ความหมายของ
“การบริหารการศึกษา” ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้
ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
ความหมายของการบริหารสถานศึกษา
สรุปได้ว่า การบริหารสถานศึกษา หมายถึง
ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร
โดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล กระบวนการต่างๆ
ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่ เป็นผู้นำทางความคิด
การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างแรงจูงใจและจัดสรรการใช้ทรัพยากรต่างๆ
ให้เป็นกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันอย่างดี
มีกลังคนที่มีความสามารถพร้อมสร้างบุคลากรให้ทำงานได้อย่างถูกต้องเพื่อให้บุคลากรร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพของงานภายในสถานศึกษาและให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคม
ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา
สรุปได้ว่า การบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กร สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ
คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร
ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้
ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงาน
เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ
นั้นหมายถึงผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องการบริหารเป็นอย่างดี
หลักการบริหารงานบุคคล
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
(2545)
ให้แนวคิดในการบริหารและการจัดการที่ดี
เพื่อมาปรับใช้ในบริบทขององค์กรทางการศึกษา ในประเด็กดังนี้
1. การกำหนดจุดหมาย
ผลที่คาดหวัง หรือภาพความสำเร็จของการบริหารและการจัดการที่ดี (Goal /
Expected / Output)
2. กระบวนการบริหารและการจัดการที่ดี
(Process)
3. ทรัพยากรในการบริหารจัดการที่ดี
(Input / Resource)
4. ระบบควบคุม (Feedback
/ Control System)
5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและการจัดการที่
ขอบข่ายของการบริหาร
กระทรวงศึกษาธิการ (2546) ได้กำหนดขอบข่ายภาระงานในการบริหารงานบุคคลไว้ประกอบด้วย 5 งาน ได้แก่
1. การวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง
2. การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง
3. การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
4. วินัยและการรักษาวินัย
5. การออกจากราชการ
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
(Science
and arts)
- เป็น ศาสตร์ เพราะ มีหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏีที่เชื่อถือได้ เกิดจากการศึกษาค้นคว้าเชิง วิทยาสาสตร์
- เป็น ศิลป์ เพราะต้องทำงานกับคน ต้องเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ต้องฝึกให้ชำนาญ จึงต้องประยุกต์ใช้อย่างมีศิลป์
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสถานศึกษา
ทัศนะดั้งเดิม Classical
viewpoint (โบราณ)
การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific
management)
Frederick. W. Taylor (เทเลอร์)
บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก 4 ประการ
1.
ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิเคราะห์งาน
2.
มีการวางแผนการทำงาน
3.
คัดเลือกคนทำงาน
4.
ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ
การจัดการเชิงบริหาร (Administration
management)
Henry Fayol: หลักการบริหาร
14 หลักการ และขั้นตอนการบริการ POCCC
Chester Barnard: ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
Luther Gulick: ใช้หลักการของ
Fayol โดยใช้คำย่อว่า POSDCoRB ซึ่งเป็นหน้าที่
7 ประการ
การบริหารแบบราชการ (Bureaucratic
management)
Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
1. มีกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
2. ความไม่เป็นส่วนตัว
3. แบ่งงานกันทำตามความถนัด
ความชำนาญเฉพาะทาง
4. มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
5. ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
6. มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ
โดยมีกฎระเบียบรองรับ
7. ความเป็นเหตุเป็นผล
ทัศนะเชิงพฤติกรรม Behavioral
viewpoint (ค.ศ.1800)
ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก (Early
behavioral theories)
- Hugo Munsterberg บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม
ใช้หลักจิตวิทยาในการจำแนกคนงานให้เหมาะสมกับงาน
- Mary Parker Follett นักปรัชญาแห่งเสรีภาพของบุคคล
เน้นสภาพแวดล้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วม
การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น (Hawthorne
studies)
การทดลองของบริษัทเวสเทิร์น อิเล็กทริก
ที่เมืองฮอว์ธร์น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลของแสงไฟต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ในช่วงท้ายของการทดลอง
Elton
Mayo ร่วมทำการทดลอง สรุปข้อค้นพบว่าเงินไม่ใช้สิ่งจูงใจสำคัญเพียงอย่างเดียว/กลุ่มไม่เป็นทางการมีอิทธิพลต่อองค์การ
ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์
(Human
relation movement)
Abraham Maslow: มาสโลว์
ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ
Douglas McGregor: แมคเกรเกอร์
ทฤษฏี X และทฤษฏี Y
หลักพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral
science approach)
เป็นการนำผลการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์
เพื่อพัฒนาทฤษฏีเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์จากศาสตร์สาขาต่างๆ เมื่อนำไปทดสอบแล้วจะเสนอให้นักบริหารนำไปใช้
เช่น ทฤษฏีการตั้งเป้าหมายของ Locke
ทัศนะเชิงปริมาณ Quantitative viewpoint (ค.ศ.1950)
การบริหารศาสตร์ (Management
science)
มุ่งเพิ่มความมีประสิทธิผลในการตัดสินใจจากการใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสิติ
ซึ่งแพร่หลายได้รวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น
การบริหารปฏิบัติการ (Operation
management)
·
ยึดหลักการบริหารกระบวนการผลิตและให้บริการ
·
กำหนดตารางการทำงาน
·
วางแผนการผลิต
·
การออกแบบอาคารสถานที่ การประกันคุณภาพ
·
การใช้เทคนิคเครื่องมือต่างๆ เช่น
เทคนิคการทำนายอนาคต
·
การวิเคราะห์รายการ
ตัวแบบเครือข่ายการทำงาน การวางแผน
·
และควบคุมโครงการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management
Information System)
สารสนเทศบริหารศาสตร์ MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร
(Computer based information system : CBISs)
ทัศนะร่วมสมัย
Contemporary
viewpoint (ปัจจุบัน)
ทัศนะเชิงระบบ (System theory)
ระบบแบ่งออกเป็น
2
ลักษณะ คือ ระบบเปิดและระบบปิด
ระบบเปิดและระบบปิดไม่ได้แยกออกจากกัน มีลักษณะอยู่ 9 ประการ
1.
มีปัจจัยป้อนเข้าจากภายนอก
2.
มีกระบวนการที่ก่อให้เกิดผลผลิต
3.
ปัจจัยป้อนออกเป็นผลผลิตหรือบริการ
4.
มีวงจรต่อเนื่อง
5.
มีการต่อต้านแนวโน้มสู่ความเสื่อมของระบบ
6.
ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการปรับตัว
7.
มีแนวโน้มสู่ความสมดุล
8.
มีแนวโน้มสู่คามซับซ้อน
9.
มีหลายเส้นทางเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย
ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์
(Contingency
theory)
หลักการบริหารงานที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์หนึ่งๆ
เท่านั้น
ในสถานการณ์ที่ต่างไป
ผู้บริหารอาจกำหนดหลักการจากการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานการณ์เพื่อกำหนดแนวทางให้เหมาะสมกับโครงสร้าง
เป้าหมายและผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่
ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่
ทฤษฏี Z ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น
โดย William Ouchi โดยรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ
ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอบปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า
ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว
Vocabulary (คำศัพท์)
Planning – การวางแผน
Controlling – การควบคุม
Scientific management – การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
Operation management – การบริหารปฏิบัติการ
Management Information System - ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
Applied (การประยุกต์ใช้)
การบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กร สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น
Evaluation (การประเมิน)
Self (ประเมินตนเอง)
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
จดบันทึกข้อมูลความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์พูดเสริมจากเนื้อหา
Friends (ประเมินเพื่อน)
เพื่อนตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา มีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์
ตอบคำถามและให้ความร่วมมือในการเรียน มีการจดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ
Teacher (อาจารย์)
อาจารย์มีการเตรียมการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี
ตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการเพิ่มเติมความรู้จากเนื้อหาที่เตรียมมาสอน
บรรยายน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนของนักศึกษาได้ดีค่ะ
Photo Gallery (ประมวลภาพกิจกรรม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น