วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561
เวลา 08.30 - 11.30 น.

Knowledge (ความรู้)
นำเสนอคำคมทางการบริหาร




นำเสนอวิจัย (กลุ่ม)
งานวิจัยเรื่อง การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์
การศึกษา ระดับปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้วิจัย พระสกล ฐานธมฺโม (อินทร์คล้าย)       ปีการศึกษา ๒๕๕๖
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        ๑ เพื่อศึกษากระบวนการ การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
        ๒ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและผู้บริหารต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
        ๓ เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
งานวิจัยนี้นำแนวคิดทฤษฏีทางการบริหารใดมาใช้
·     เทเลอร์ (Frederick W Taylor) บิดาแห่งการบริหารหลักเกณฑ์การบริหารซึ่งมีพื้นฐานอยู่ในหลักการ (Principles) ที่สําคัญ ๔ ประการ
·     ทฤษฎีการบริหารของเฮนรีฟาโย หน้าที่ทาง การบริหาร ๕ ประการ
·     วิลเลียม โอชิ(William Ouchi) ทฤษฎีZ
·     ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulick) POSDCORB Model
·     ฟาโย (Fayol) หลักการในการบริหารจัดการขึ้น ๑๔ ประการ
สรุปผลการวิจัย
        ๑ ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรร มาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
        จากผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษา ตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุก ด้าน อันเนื่องมาจากผู้บริหารและครูผู้สอนมีความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานและ การทํางานในหน่วยงาน
        ๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการ บริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผูบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์จําแนก ตามปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, ตําแหน่ง, และระยะเวลาในการดํารงตําแหน่ง
        พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีเพศ, อายุ, ตําแหน่งปัจจุบัน และระยะเวลาในการดํารงตําแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
การศึกษาระดับ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้วิจัย นายธีระวัฒน์ มอนไธสง       ปีการศึกษา พ.ศ. 2557
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
        2. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
        3. เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
แนวคิดทฤษฏีทางการบริหาร
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล
·     Robbins (1999) เสนอว่าวิธีวัดประสิทธิผลขององค์การมีอยู่สี่วิธีด้วยกัน คือ 1) วัดจากความสามารถขององค์การในการบรรลุเป้าหมาย 2) วัดโดยอาศัยความคิดระบบ 3) วัดจากความสามารถขององค์การในการชนะใจผู้มีอิทธิผล และ4) วัดจากค่านิยมที่แตกต่างกันของสมาชิกองค์การ
·     Edmonds (1979) ได้เสนอแนวคิดที่นำไปสู่ความเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผลด้วยปัจจัย 5 ประการ คือ 1. ภาวะผู้นำที่แข็งแกร่งของผู้บริหาร 2. ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านทักษะพื้นฐาน 3. สภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่สะอาดเรียบร้อยและปลอดภัย 4. ความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียนในระดับสูง 5. การเฝ้าติดตามประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
·     Pierce (1991) ได้วิเคราะห์ลักษณะการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล ในปี ค.ศ. 1991พบว่ามีลักษณะ ดังนี้1. การให้ความเคารพกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2. การพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่เน้นการสร้างครูที่ช่วยเหลือนักเรียนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม 3. หลักสูตรที่เน้นการ  บูรณาการและพัฒนาได้มากกว่าทักษะพื้นฐาน 4. การส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความร่วมมือในการวางแผนกับครู 5. การมีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียนระหว่างครูและผู้ปกครอง
สรุปผลการวิจัย
        จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนมีสองรูปแบบ คือ รูปแบบมุ่งเน้นการนิเทศ กับรูปแบบมุ่งเน้นเป้าหมาย สถานศึกษาสามารถที่จะนำไปใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น สถานศึกษาต้องยึดหลักการกระจายอำนาจในการตัดสินใจโดยมุ่งไปที่การตัดสินใจร่วมกันในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และชุมชน จึงทำให้รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผลเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

งานวิจัยเรื่อง การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา อำเภอ เลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
การศึกษาระดับ ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้วิจัย พระสุธิศักดิ์ สุภกิจฺโจ (เขียวหวาน)      ปีการศึกษา 2554
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        ๑.๒.๑ เพื่อศึกษาการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
        ๑.๒.๒ เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
        ๑.๒.๓ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
·     สมยศ นาวีการ ได้กล่าวถึงแนวคิดการบริหารไว้ว่า การบริหารงานไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผู้นำโครงสร้างระบบราชการและหน้าที่ของผู้บริหารในองค์การแห่งหนึ่งสามารถนำมาประยุกต์ไปใช้กับองค์การ เรียกว่า วิธีดีที่สุด (One Best Way) อย่างไรก็ตามผู้บริหารในแต่ละองค์การจะเผชิญกับสถานการณ์เฉพาะที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่มีหลักสากลใดที่สามารถใช้ได้กับทุกปัญหาผู้บริหารต้องศึกษาการบริหาร โดยมีประสบการณ์จากกรณีศึกษา (Case Study) จำนวนมากและวิเคราะห์ว่าวิธีการใดที่สามารถใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
สรุปผลการวิจัย
การศึกษาเรื่องการบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ดังนี้
        ๕.๑.๑ ข้อมูลทั่วไปของครูผู้ตอบแบบสอบถามครูผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น ๑๖๐ คน ส่วนใหญ่เป็นหญิง จำนวน ๙๗ คนคิดเป็นร้อยละ ๖๐.๖ เป็นชาย จำนวน ๖๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๔
        ๕.๑.๒ ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารการศึกษาตามหลัก
ธรรมาภิบาล โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าครูมีความเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ

งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มี ประสิทธิผลในจังหวัดนนทบุรี
การศึกษาระดับ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ผู้วิจัย นางเรขา ศรีวิชัย     ปีการศึกษา 2554
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        1.ศึกษาสภาพการบริหารงานของสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลใน จังหวัดนนทบุรี
        2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานของสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในจังหวัดนนทบุรี
แนวคิดทฤษฏีทางการบริหาร
·     แนวคิดและทฤษฎีระบบโรงเรียนในฐานะระบบสังคมของ Hoy &Miskel
·     แนวคิดและทฤษฎีการบริหารโรงเรียนเชิงระบบของ Lunenburg & Ornstein
สรุปผลการวิจัย
        1.รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษา  เอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย
            ปัจจัยนำเข้าที่มีองค์ประกอบย่อย คือ สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาการตอบสนองความต้องการของชุมชนและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน นโยบายของรัฐบาล นโยบายของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้เรียน ผู้บริหารและครู จรรยาบรรณวิชาชีพ ของครู จรรยาบรรณวิชาชีพ ของผู้บริหาร และ งบประมาณ
            ปัจจัยด้านกระบวนการนั้น ประกอบด้วย การบริหารจัดการหลักสูตรการเรียน การสอน และการวัดและประเมินผลด้านผลผลิต คือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และความพึงพอใจ ของผู้ปกครองนักเรียน
        2.จากการประเมินรูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในจังหวัดนนทบุรี พบว่ารูปแบบนี้มีประโยชน์มีความสอดคล้องและความเป็นไปได้  ส่วนความเหมาะสมจำเป็นต้องพัฒนาจากขนาดของสถานศึกษารวมทั้งสถานศึกษาจะต้องแสดงความเป็น เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ในการบริหารจัดการให้ชัดเจนด้วย

งานวิจัยเรื่อง การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1
การศึกษาระดับ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้วิจัย นางสาว ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ ปีการศึกษา 2555
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1
        2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1
        3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1
สรุปผลการวิจัย
        จากผลการวิจัยพบว่าการบริหารสถานศึกษาในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 ด้านการบริหารงบประมาณ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในอันดับสุดท้ายของทุกด้าน ดังนั้น ทางสถานศึกษาต้องมีการศึกษา วิเคราะห์การจัดและการพัฒนาการศึกษาในการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษาตามกรอบทิศทางของเขตพื้นที่การศึกษาและตามความต้องการของสถานศึกษา ซึ่งบุคลากรทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์มีการกำหนดแผนพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาวรวมถึงมีการจัดทำข้อมูลทรัพยากรเพื่อการศึกษา การจัดหาเงินงบประมาณ และการระดมทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา โดยมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา มีการจัดระบบสวัสดิการมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ในการจัดหารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษา รวมทั้งมีการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้งบประมาณของสถานศึกษาให้ได้ทราบโดยทั่วกันจากผลการวิจัยพบว่าประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลอวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 พบว่าความใฝ่รู้รักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในอันดับ สุดท้ายของทุกด้าน ดังนั้นทางสถานศึกษาควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า และสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบและมีความกระตือรือร้นในการทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ

งานวิจัย เรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
การศึกษาระดับ  ประถมศึกษา 
มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ผู้วิจัย ลดารัตน์  ศศิธร      ปีการศึกษา 2558
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
        1.ศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษา ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
        2.เปรียบเทียบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาและลักษณะของโรงเรียน
        3.ศึกษาความพึงพอใจ การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน
        4.รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน
งานวิจัยนี้นำแนวคิดทฤษฏีทางการบริหารใดมาใช้
·     ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ Scott (1997)
·     ทฤษฎีแรงจูงใจ Herzberg (1959) ศึกษาถึงสาเหตุจูงใจให้คนทำงาน โดยมี 2 ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการทำงาน คือ 1.ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) 2.ปัจจัยกระตุ้น (Motivation Factors)
·     ทฤษฎีลำดับขั้นตอนของความต้องการ Maslow (1970)
สรุปผลการวิจัย
        ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการจัดการเรียนร่วมในภาพรวมและหลายด้านอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายข้อในด้านการบริหารจัดการทั่วไป พบว่าผู้บริหารจัดการศึกษาครูผู้สอน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นว่าในการบริหารจัดการเรียนร่วมได้มีการดำเนินงานเรื่องการเดินทางไปเรียนร่วมกับนักเรียนและสามารถดำเนินการได้ตามแนวปฏิบัติและครอบคลุมนักเรียนทุกคนอย่างสูงสุดเท่ากัน       

Vocabulary (คำศัพท์)
Research - วิจัย
Theory - ทฤษฎี
Position - ตำแหน่ง
Budget - งบประมาณ
Satisfaction - ความพึงพอใจ

Applied (การประยุกต์ใช้)
        จากการนำเสนอวิจัยในครั้งนี้ได้รับความรู้จากในวิจัยและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ทั้งของกลุ่มตนเองและกลุ่มเพื่อนๆอีก 5 กลุ่ม ได้ความรู้ในการทำวิจัยเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา และได้เห็นเค้าโครงวิจัยที่สมบูรณ์

Evaluation (การประเมิน)
Self (ประเมินตนเอง)
        เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมพร้อมในการนำเสนองานวิจัย และตั้งใจฟังเพื่อนกลุ่มอื่นนำเสนองานวิจัย มีการถามคำถามเกี่ยวกับงานวิจัยภายในห้องเรียน
Friends (ประเมินเพื่อน)
        เพื่อนเตรียมงานนำเสนอวิจัยมาเป็นอย่างดี นำเสนอได้น่าสนใจ แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา
Teacher (อาจารย์)
        อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ค่อยแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมหลังจากนักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอจบ ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น

Photo Gallery (ประมวลภาพกิจกรรม)








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น